วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ຜັກໜາມຂະຍ່າ / Yellow Mimos

ຜັກໜາມຂະຍ່າ / Yellow Mimos

ບັນຍາຍລັກສະນະພືດສາດ
ເປັນພືດຄ້າຍພຸ່ມ ແຕ່ລຳຕົ້ນມັກເປັນເຄື່ອເອືອຍອີ່ງຕາມຕົ້ນໄມ້ອື່ນເມື່ອຕົ້ນທີ່ຍາວອອກໄປ, ຈະຍາວປະມານ 2-4 ແມັດ, ເປືອກທີ່ມີແກ້ຈະເປັນສີດຳນ້ຳຕານ, ປາຍຍອດສີແດງອົມຂຽວ. ໃບປະສົມແບບຂົນນົກຂັ້ນສອງ, ກ້ານໃບຂັ້ນໜື່ງຍາວປະມານ 12-15 ຊມ, ສີແດງ, ມີໜາມຕາມກ້ານ, ກ້ານໃບຂ້ັນສອງຍາວ 1-2 ຊມ, ກ້ານໃບສັ້ນໆ, ແຜ່ນໃບຮູບຂອບຂະໜາດ, ຍາວ 3-6 ມມ, ກວ້າງ 1-4 ມມ, ປາຍມົນ, ຂອບລຽບ, ໂຄນມົນ. ດອກອອກເປັນຊໍ່ຕັ້ງຂື້ນ, ມີປະມານ 10-20 ດອກຕໍ່ຊໍ່, ດອກເປັນສີເຫຼືອງ, ຕາມຊໍ່ຈະມີໜາມ, ກ້ານຊໍ່ດອກຍາວ 16 ຊມ, ກ້ານດອກຍາວ 2-3 ຊມ, ກາບດອກສີຂຽວ, ມີຂົນ. ກິບດອກມີ 5 ອັນ ຮູບໄຂ່, ຂະໜາດຍາວ 1-1,6 ຊມ, ປາຍມົນ, ຂອບລຽບ, ກົກມົນ, ສີແດງກົກກິບ, ເກສອນເພດຜູ້ຮູບຂອບຂະໜາດ ສີເຫຼືອງອ່ອນ, ເຕົ້າໄຂ່ເປັນຊໍ່ຍາວ. ໝາກເປັນຮູບຂອບຂະໜານ ສີເຫຼືອງເມື່ອຍັງອ່ອນ, ປາຍໝາກມີຈະງອຍແຫຼມ, ມີຂົນທົ່ວໝາກ, ເມື່ອແກຈະເປັນສີດຳອົມນ້ຳຕານ, ເມັດຄ້າຍເມັດໝາກຖົວແປ. ອອກດອກໃນຊ່ວງເດືອນພືດສະພາ ເປັນໝາກໃນເດືອນກໍລະກົດ.

ບັນຍາຍການນຳໃຊ້
ຍອດອ່ອນຂອງຜັກໝາກປູ່ຍ່າ ສາມາດເຫັນຂາຍຢູ່ຕາມທ້ອງຕະຫຼາດທ້ອງຖີ່ນ, ຂາຍເປັນມັດ 2000ກິບ/ມັດ, ຍອດຈະມີລົດສົ້ມເລັກນ້ອຍ. ແຕ່ຄົນນິຍົມກັນກິນກັບແຈ່ວປ່າ ແລະ ລາບກອຍຕ່າງໆ. ເປັນພືດທີ່ທີມີການຂະຫຍາຍພັນໄດ້ຕາມທຳມະຊາດ. ນອກຈາກຍອດທີ່ສາມາດເປັນອາຫານແລ້ວຮາກຂອງມັນຍັງສາມາດເອົາມາດອງເຫົຼ້າເພື່ອເປັນຢາບຳລູງກຳລັງ.
ການປູກຂະຫຍາຍພັນ: ສາມາດເກັບເບ້ຍນ້ອຍຕາມທຳມະຊາດມາປູກໄດ້, ເມັດຂອງມັນງອກງ່າຍສາມາດນຳມາປູກເປັນພືດສວນຄົວໄດ້.

Cr: https://www.phakhaolao.la/kb/0000259

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

หนานเฉาเหว่ย สมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน

หนานเฉาเหว่ย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnanthemum extensum) สมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน มีชื่อสามัญไทยว่า "ป่าช้าเหงา,ป่าช้าหมอง" ชื่ออื่น : หนานเฉาเหว่ย, หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่, ป่าเฮ่วหมอง, บิสมิลลาฮ์ โดยมีชื่อสามัญคือ "Bitterleaf tree" เป็นพืชในวงศ์ทานตะวัน(Asteraceae)






หนานเฉาเหว่ยเป็นไม้ยืนต้นสูง 6-8 เมตร
ใบ ใบออกสลับ มีรูปรี ปลายแหลม โคนป้านเกือบมน ใบอ่อนและใบแก่ มีรสขมจัด เมื่อเคี้ยวตอนแรก จะขมในปากมาก แต่พอสักพักจะรู้สึกหวานในปากและในลำคอ
Leaf of a bitterleaf shrub
  • ดอก ดอกมีสีขาว ออกตามซอกใบ และปลายยอด
  • ตาพืช มีตาสีขาวตรงข้อของลำต้น
  • ผล ผลมีรูปทรงกลม
  • เมล็ด มีเมล็ด




สรรพคุณทางยา

  • ใบสด ตำราจีนระบุว่า ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ใบสด รักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ต่อต้านโรคเก๊าต์
  • ต่อต้านโรคเบาหวาน
  • แก้โรคไขมันสูง
  • รักษาโรคไทรอยต์ต่ำ ไม่เหมาะกับผู้มีไทรอยต์สูง
  • มีรายงานจากแหล่งจำนวนมากว่ารักษาโรคมะเร็งได้ โดยรับประทานใบ 3 ครั้งต่อวัน เช้า เที่ยง เย็น โดยรับประทานใบสด วันละ 5 - 7 ใบต่อครั้ง
  • ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย
  • ช่วยรักษาหูดให้หลุดออกและผิวเรียบปรกติ
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
  • เพิ่มสมรรถนะทางเพศ
  • รักษาโรคใจสั่น ช่วยให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • ผลกระทบต่อไต


ผลกระทบต่อไต
ผู้ป่วยที่มีโรคไตห้ามใช้เนื่องจากมีรายงานว่ามีผลกระทบต่อไต และประสบการณ์จริงของผู้เขียนบทความ ส่งผลให้เกิดอาการเท้าบวม มือบวมเมื่อรับประทานเป็นเวลาต่อเนื่องกว่า 2 สัปดาห์ การรับประทานจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และตรวจสอบค่าต่างๆ ในร่างกายเพราะทุกสิ่งในโลกนี้ต้องใช้อย่างเหมาะสม น้อยเกินไป ก็ขาด มากเกินไป ก็เกิน ต่างมีผลกระทบต่อร่างกายเสมอ เห็นควรที่จะตรวจวัดค่าไตอย่างต่อเนื่องหากทดลองใช้ ก่อนที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อไต หรืออันตรายต่อชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคไต

งานวิจัยทางเภสัชวิทยา
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหิดล ระบุว่า สารสกัดน้ำของใบหนานเฉาเหว่ย มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย และต้านอนุมูลอิสระ หรือแอนติอออกซิแดนท์ได้ แต่งานวิจัยทั้งหมดนี้ยังอยู่ในห้องแล็ปเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทดสอบในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น สำหรับการศึกษาเรื่องความความเป็นพิษของหนานเฉาเหว่ยในสัตว์ทดลอง พบว่า เมื่อป้อนสารสกัดน้ำ สารสกัดเมทานอล และผงใบหนานเฉาเหว่ย ให้][หนูแรท]] ขนาด 100 - 1,000 มก./วัน เป็นเวลา 28 - 65 วัน ให้แก่สัตว์ทดลอง ไม่พบความผิดปกติของตับและไต และผลต่อค่าชีวเคมีอื่นในเลือด แต่อย่างไรก็ตามยังไม่พบรูปแบบการศึกษาถึงขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมในมนุษย์ รวมไปถึงการศึกษาความเป็นพิษหากกินแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จากประสบการณ์จริงของผู้เขียนบทความ การรับประทานใบอย่างต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ทำให้เกิดอาการเท้าบวม เมื่อหยุดรับประทานเท้ากลับเป็นปรกติอาการบวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงมั่นใจได้ว่ามีผลกระทบต่อไต อย่างแน่นอน ผู้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับไต จึงควรใช้สมุนไพรชนิดนี้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์

ขอขอบคุณบทความ
https://th.m.wikipedia.org/

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

โรครูมาตอยด์ อาการปวดข้อเรื้อรัง ระวังวายร้ายทำลายกระดูก

โรครูมาตอยด์ อาการปวดข้อเรื้อรัง ระวังวายร้ายทำลายกระดูก


โรครูมาตอยด์ อาการข้ออักเสบที่มีลักษณะเรื้อรัง ถึงเวลารู้จักกับโรครูมาตอยด์ให้มากขึ้น ดูกันสิว่าที่จริงแล้ว โรครูมาตอยด์เกิดจากอะไร

อาการข้ออักเสบนั้นเป็นอาการที่สร้างปัญหาให้คนเราไม่น้อย ยิ่งถ้าหากเรื้อรังจนกลายเป็นโรครูมาตอยด์ ก็ยิ่งอันตรายมากเลยเชียวล่ะ และเพื่อระวังไม่ให้โรคนี้คุกคามชีวิต เราลองมาทำความรู้จักกับโรครูมาตอยด์นี้กันดีกว่า ว่าจะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาอย่างไร รวมทั้งจะป้องกันด้วยวิธีไหนถึงจะปลอดภัยจากโรคนี้ เรื่องเหล่านี้รู้ก่อนป้องกันไว้ จะได้ไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพนะคะ

โรครูมาตอยด์เกิดจากอะไร

โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) คือกลุ่มอาการของโรคที่มีการอักเสบของทุกระบบในร่างกาย แต่ที่จะเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ บริเวณเยื่อบุข้อ และเยื่อบุเส้นเอ็น โดยลักษณะเด่นของโรคนี้คือ มีการเจริญของเยื่อบุข้ออย่างมากจนทำให้เกิดการลุกลามและทำลายกระดูกในที่สุด นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้อีก เช่น ตา เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคนั้นยังไม่แน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าโรคนี้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิด หรือเกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้ออักเสบได้อีกด้วย







โรครูมาตอยด์ อาการแบบนี้รู้แล้วต้องรีบพบแพทย์

อาการโรครูมาตอยด์ จะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดจากความผิดปกติเกี่ยวกับไขข้อ โดยส่วนใหญ่ในระยะแรกจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ ข้อต่าง ๆ ในร่างกายอาจมีอาการฝืดขัดเนื่องจากเนื้อเยื่อบุข้อหนาตัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นในตอนเช้า แต่เมื่ออาการเริ่มชัดเจน บริเวณข้อต่าง ๆ จะมีอาการบวม ร้อน และปวด ซึ่งบางรายก็อาจจะมีอาการแบบเฉียบพลันรุนแรงได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วย ในเคสที่รุนแรง อาการที่แสดงออกอาจเกิดขึ้นในระบบการทำงานอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ตา และปอด หรือมีตุ่มขึ้นตามตัวได้เช่นกัน วิธีการสังเกตว่าตนเองเป็นโรครูมาตอยด์หรือไม่ สามารถเช็กได้ดังนี้ค่ะ

- มีอาการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อในร่างกายหลาย ๆ ข้อพร้อมกัน และมีอาการติดต่อกันเกิน 6 สัปดาห์

- บริเวณที่อักเสบส่วนใหญ่จะเป็นข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า มีอาการปวด บวม และเมื่อกดจะมีอาการเจ็บ

- มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง ไม่สามารถขยับตัวได้สะดวก ในเวลาเช้าหลังตื่นนอน และจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อต่าง ๆ ได้

- มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยทั้งตัว มีไข้ต่ำ ๆ น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองและหลอดเลือดอักเสบ และโลหิตจาง
โรครูมาตอยด์ ใครเสี่ยงบ้าง

โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในกลุ่มอายุ 30-50 ปี และพบผู้หญิงป่วยมากกว่าผู้ชายถึง 5 เท่า แต่ถ้าหากมีอาการในเด็ก อาการที่เกิดจะต่างออกไป และมีความรุนแรงมากกว่า





การรักษาโรครูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์ มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ หรือการยับยั้งไม่ให้ข้อถูกทำลายมากขึ้น แต่วิธีที่ได้ผลมากที่สุดก็คือ การผ่าตัดนั่นเอง โดยวิธีการรักษามีดังนี้ค่ะ

การใช้ยารักษา

วิธีนี้ใช้เพื่อควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วได้ผลดี โดยยาที่มักใช้กันเป็นปกติได้แก่ ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งผลการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ยาสองชนิดนี้ก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับไตได้ จึงต้องมีการใช้อย่างระมัดระวังและควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์

นอกจากนี้ในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์ก็อาจพิจารณาใช้ยาในกลุ่มยาระดับที่ 2 ได้แก่ ยาต้านมาลาเรีย ยาทอง ยาเมทโธเทรกเซท ยาซัลฟาซาลาซีน ซึ่งยาเหล่านี้ไม่ใช่ยาระงับปวด แต่เป็นยาที่ยับยั้งการลุกลามของโรครูมาตอยด์ได้ ทว่าก็มีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่าระดับแรก ดังนั้นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้อนุญาตให้ใช้เท่านั้น และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้อกระจก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระดูกผุ ซึ่งจะยิ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพค่ะ

การพักผ่อนและบริหารร่างกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญต่อผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ลดอาการอ่อนเพลีย แต่ก็ไม่ควรพักผ่อนหรืออยู่นิ่ง ๆ นานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ข้อต่าง ๆ ตามร่างกายเกิดการฝืดขัดได้ จึงต้องมีการพักผ่อนและการออกกำลังกายที่สมดุลกัน และควรจะออกกำลังกายเท่าที่ตนเองสามารถทำได้ ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไปเพราะอาจจะยิ่งกระตุ้นอาการปวดได้ค่ะ






การใช้กายอุปกรณ์

กายอุปกรณ์คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองและเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยเดิน นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคนี้ด้วยว่ามีท่าทางใดที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาด หรือท่าทางเคลื่อนไหวแบบใดที่ทำแล้วจะช่วยบรรเทาอาการได้

การผ่าตัด

ในกรณีที่อาการรุนแรงจนเกิดการถูกทำลายของข้อ หรือมีอาการแทรกซ้อน เช่น เส้นเอ็นขาด การผ่าตัดสามารถช่วยให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้นค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าเมื่อผ่าตัดแล้วจะส่งผลดี หรือส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสุขภาพหรือไม่

การใช้สมุนไพรรักษา

การรักษาโรครูมาตอยด์ไม่ได้จำกัดแค่เพียงการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น แต่การใช้สมุนไพรบางชนิดก็ยังสามารถบรรเทาอาการให้เบาลง ช่วยลดอาการเจ็บ บวมแดง หรืออาการอักเสบ รวมทั้งยังสามารถช่วยรักษาอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากโรครูมาตอยด์ได้อีกด้วย ซึ่งสมุนไพรที่ใช้กันก็อย่างเช่น ฟ้าทะลายโจร กำยานหรือขมิ้นชัน เป็นต้น






โรครูมาตอยด์ รักษาหายไหม

โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแค่ควบคุมอาการไม่ให้กำเริบรุนแรง ซึ่งหากเป็นแล้วก็ต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าจะสามารถควบคุมอาการให้ทุเลาลงได้ ดังนั้นการรักษาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากรักษาไม่ต่อเนื่องก็อาจจะทำให้อาการไม่บรรเทาลง แถมยังอาจทำให้รุนแรงยิ่งกว่าเดิมได้ค่ะ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับโรครูมาตอยด์

การรับประทานอาหารก็ส่งผลต่อโรครูมาตอยด์ได้ เนื่องจากอาหารบางชนิดสามารถทำให้อาการโรครูมาตอยด์เลวร้ายลง ฉะนั้นผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ควรหลีกเลี่ยงอาหารทั้ง 9 ชนิดนี้ดังต่อไปนี้






เนื้อแดง


เนื้อแดงโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีระดับไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งจะไปทำให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น รวมทั้งอาจทำให้ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เป็นโรคอ้วนได้ โดยเฉพาะไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งมีการพบว่าไขมันชนิดนี้ยิ่งจะไปทำให้อาการอักเสบเลวร้ายลงหากรับประทานมากเกินไป ทั้งนี้บางการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า หากผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อแดงแล้วจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถึงอย่างนั้นเนื้อแดงก็ยังมีสารอาหารที่สำคัญต่อผู้ป่วย หากจะรับประทานเนื้อแดงจริง ๆ ก็ควรจะเลือกเนื้อแดงที่ไขมันน้อยจะดีที่สุดค่ะ

น้ำตาลและแป้งขัดขาว

น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นก็จะทำให้เกิดการผกผันของระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ เพราะ จะทำให้ร่างกายสร้างสารเคมีไซโตไคน์ (Cytokines) อันเป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นการอักเสบ และทำให้อาการของโรครูมาตอยด์รุนแรงขึ้น ที่สำคัญ น้ำตาลและแป้งขัดขาวนั้นยังทำให้อ้วนขึ้น และทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายตึงเครียดมากขึ้น ทางที่ดีเลี่ยงไว้ดีกว่าค่ะ

อาหารทอด

การศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ Mount Sinai ในปี 2009 แสดงให้เห็นว่าอาหารทอดทำให้เกิดภาวะน้ำตาลสะสม (Advanced Glycation End Products) ซึ่งจะทำให้เพิ่มการออกซิเดชั่นของเซลล์ภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบมากขึ้น นอกจากนี้อาหารทอดก็ยังทำให้อ้วนอีกด้วย

โปรตีนกลูเตน

โปรตีนชนิดนี้เป็นโปรตีนที่มาจากธัญพืชหลายชนิดเช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบในผู้ที่แพ้ได้ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ หากมีอาการแพ้โปรตีนกลูเตนร่วมด้วย อาการที่เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารที่มีโปรตีนชนิดนี้อาจทำให้ยิ่งเลวร้ายลงได้

แอลกอฮอล์

ผลกระทบที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้ป่วยโรครูมาตอยด์นั้นยังไม่ชัดเจนนัก เพราะมีการศึกษาในปี 2012 ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Rheumatic Disease Clinics of North America พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรครูมาตอยด์และช่วยชะลอการเกิดอาการได้ด้วย แต่ก็มีการศึกษาในปีเดียวกันที่ให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งว่า ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 3 แก้วต่อสัปดาห์นั้นมีความเสี่ยงมากกว่าครึ่งที่จะเป็นโรครูมาตอยด์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำให้ระดับ C-reative protein (CRP) ในร่างกายเกิดผกผันอย่างรุนแรง ซึ่งเจ้า CRP เป็นสัญญาณที่ชัดเจนของการอักเสบ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อโรครูมาตอยด์ค่ะ






อาหารแปรรูป

อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปจนพร้อมทาน หรือกึ่งสำเร็จรูปทุกชนิดเป็นข้อต้องห้ามของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เลยค่ะ เพราะสารประกอบในอาหารเหล่านี้เต็มไปด้วยน้ำตาล แป้งขัดขาว และไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ก็ยังส่งผลเสียต่อร่างกายอีกเพียบ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการแปรรูปทุกชนิด และควรอ่านฉลากทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เผลอรับประทานอาหารที่ส่งผลกระทบต่ออาการป่วยโรครูมาตอยด์ค่ะ

พืชตระกูลมะเขือ

แม้ว่าการรับประทานผักผลไม้จะเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงพืชในตระกูลมะเขือ อาทิ มะเขือเทศ มันฝรั่ง และมะเขือทุกชนิด เพราะบางคนเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการกำเริบได้ค่ะ

ไขมันโอเมก้า 3


ไขมันโอเมก้า 3 เป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ไขมันชนิดนี้จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะกรดไขมันที่มากเกินไปส่งผลโดยตรงต่อการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วย ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

นอกจากอาหารที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีอาหารจำพวก ผลิตภัณฑ์จากนมวัว นมแพะ ข้าวโพด ไข่ และผลไม้ตระกูลส้ม รวมทั้งเนื่อสัตว์แทบจะทุกชนิดอีกด้วยที่ไม่ควรรับประทานอย่างยิ่งเพราะจะไปกระตุ้นให้โรครูมาตอยด์กำเริบได้ค่ะ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ กินอะไรแล้วดี?


ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์นั้นมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารอยู่มาก เนื่องจากอาการป่วยค่อนข้างควบคุมได้ยาก แต่จริง ๆ แล้วผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ก็ยังสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพียงต้องเลี่ยงอาหารบางชนิดที่ข้างต้น และหันมารับประทานอาหารที่ไม่ทำให้เกิดอาการกำเริบ อาทิ ข้าวกล้อง ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรืออบแห้ง อย่างเช่น เชอรี แครนเบอรี ลูกแพร์ ลูกพรุน ผักใบเขียว เหลือง และส้มที่ผ่านความร้อนแล้ว ส่วนเครื่องดื่มก็ควรดื่มแค่น้ำเปล่าจะดีที่สุด ในเรื่องเครื่องปรุงก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเลิกเสียทีเดียวยังสามารถใส่เกลือได้เล็กน้อย หากต้องการรสชาติหวานก็ควรหันมาใช้น้ำเชื่อมเมเปิลค่ะ






ป่วยด้วยโรครูมาตอยด์ ดูแลตัวเองอย่างไร

เมื่อมีการวินิจฉัยพบว่าเป็นโรครูมาตอยด์แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเกิดแรงดันจำนวนมาก ควรเลี่ยงอิริยาบทที่อาจทำให้ข้อถูกทำลายเร็วขึ้น และนอกเหนือจากการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์แล้วก็ควรที่จะดูแลสุขภาพตัวเองดังนี้ค่ะ

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่


มีการศึกษาในต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่พบว่าผู้ป่วยโรครูมาตอยด์นั้นมักจะเป็นโรคขาดสารอาหาร เนื่องจากอาการอักเสบเรื้อรังส่งผลให้ร่างกายเผาหลาญเร็วขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักลดลงมากกว่าปกติ นอกจากนี้อาการป่วยอาจจะส่งผลให้ทำอะไรไม่สะดวก ยิ่งถ้าหากต้องเป็นคนที่ทำอาหารรับประทานเองเป็นประจำก็อาจจะทำให้รับประทานแต่อาหารซ้ำ ๆ และขาดสารอาหารบางชนิดได้ อาทิ แคลเซียม วิตามินดี วิตามินอี หรือวิตามินบีต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมด้วยในกรณีที่ไม่ได้รับสารอาหารดังกล่าวเพียงพอจากอาหารที่รับประทาน

เล่นโยคะ


การเล่นโยคะในท่าอาสนะเบื้องต้นสามารถช่วยให้ร่างกายของเราผ่อนคลาย แถมยังช่วยให้ข้อต่าง ๆ ในร่างกายไม่ทำงานหนักจนเกินไปอีกด้วย ทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น และสามารถควบคุมระดับกรดยูริกในร่างกายได้อีกด้วย โดยท่าส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยโรครูมาต่อยควรทำก็ได้แก่ ท่าสุขอาสนะ ท่าวัว ท่าตรีโกน ท่าสุนัขคว่ำ หรือ งูเห่า ทั้งนี้ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่า เพราะในผู้ป่วยบางรายการฝึกโยคะบางท่าอาจจะไม่สะดวกเท่าที่ควร






ข้อควรระวังของโรครูมาตอยด์


เลือกยาให้ถูก

อาการของโรครูมาตอยด์สามารถรักษาได้เบื้องต้นด้วยการกินยาแอสไพริน แต่ก็ต้องเป็นยาแอสไพรินที่ไม่ผสมกับชนิดอื่น เพราะการกินยาแอสไพรินที่ผสมกับยาตัวอื่นนาน ๆ อาจจะทำให้ตัวยาที่ผสมมานั้นสะสมอยู่ในร่างกาย และส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ห้ามซื้อยาชุดแก้ปวดมากินเด็ดขาด

หลายคนมักคิดว่าการซื้อยาชุดมารับประทานจะได้ผลที่ดีกว่าการรับประทานยาทั่วไป ขอบอกว่านั่นคือเรื่องผิดมหันต์เลยค่ะ เพราะยาชุดบางอย่างนั้นอาจจะมีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์, เพร็ดนิโซโลน หรือยากลุ่มเฟนิลบิวตาโซน ที่ถึงแม้ว่าจะช่วยให้หายปวดในเวลารวดเร็วแต่ผลข้างเคียงนั่นก็ร้ายแรง เช่น กระดูกผุกร่อน ข้อผิดรูป ปวดกระดูก เป็นโรคเบาหวาน ทำให้กระเพาะทะลุ และที่ร้ายแรงที่สุดคืออาจจะทำให้ไขกระดูกฝ่อไม่สร้างเม็ดเลือด ซึ่งจะยิ่งทำให้ร่างกายของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีอาการที่เลวร้ายมากขึ้นกว่าเดิม

อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริงที่ว่ามียารักษาโรครูมาตอยด์ให้หายได้ในเวลารวดเร็ว

หากได้ยินคำโฆษณาที่ว่ามียาวิเศษช่วยรักษาโรครูมาตอยด์ให้หายได้ในเวลารวดเร็วละก็ ขอบอกว่านั่นเป็นเรื่องหลอกลวง แถมยังอันตรายสุด ๆ เพราะยาเหล่านั้นคือยาที่มีการผสมสารสเ้ตียรอยด์เข้าไปจำนวนมาก แม้ว่าจะทำให้หายปวดได้ แต่ผลที่ตามมาน่ะร้ายกาจกว่าที่คิดเลย ฉะนั้นใช้วิธีรักษาแบบทางการแพทย์นั่นล่ะดีที่สุด

เลี่ยงการฉีดยาเข้าข้อ

สำหรับอาการปวดข้อบางชนิดสามารถฉีดยาเข้าข้อเพื่อรักษาอาการได้ แต่โรครูมาตอยด์นั้น อาจจะทำให้หายปวดได้ชั่วคราวเพียงเท่านั้น ไม่สามารรักษาให้หายขาดได้ มิหนำซ้ำยังอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายพอ ๆ กับการรับประทานยาชุด หรือยาที่มีสเตียรอยด์เลยล่ะค่ะ ฉะนั้นไม่ควรฉีดยาเข้าข้อเด็ดขาดถึงแม้จะปวดแค่ไหนก็ตาม

โรครูมาตอยด์ อย่างมองว่าเป็นโรคที่ไกลตัวเลยค่ะ เพราะในโลกปัจจุบันนี้ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็อาจจะนำพาโรคเหล่านี้มาสู่เราได้ ทางที่ดีที่สุดคือควรดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง และควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งตรวจสุขภาพเป็นประจำ แม้ว่าอาจจะช่วยป้องกันไม่ได้เต็มร้อย แต่ก็ช่วยให้เราสามารถรับมือกับโรครูมาตอยด์หรือโรคต่าง ๆ ได้ดีค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

,

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อินทผลัม สรรพคุณผลไม้มหัศจรรย์

อินทผลัม สรรพคุณผลไม้มหัศจรรย์จากแดนอาหรับ
ทุกคนคงเคยเห็นเจ้าผลไม้ตากแห้ง ที่มีชื่อว่า "อินทผลัม" หรือที่หลายคนเรียก "อินทผาลัม" ซี่งมีลักษณะเป็นผลรี ๆ เล็ก ๆ แห้ง ๆ สีน้ำตาลเข้ม วางขายอยู่ตามแผนกผลไม้ตากแห้งกันใช่มั้ยคะ หลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นแค่เพียงผลไม้ตากแห้งธรรมดาไม่มีความพิเศษอะไร แต่ที่จริงแล้วเจ้าอินทผลัมนี้ นอกจากจะเป็นผลไม้ต่างถิ่นที่มีราคาค่อนข้างสูงแล้ว ยังคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพอีกด้วย ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับอินทผลัมกันดีกว่าค่ะ


อินทผลัม กับต้นกำเนิดจากแดนไกล

อินทผลัม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Date Palm และมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Phoenix dactylifera เป็นพืชในตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง มีหลากหลายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย โดยผู้ผลิตอินทผลัมรายใหญ่ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย แอลจีเรีย และประเทศในแถบอาหรับ

อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีปลูกในประเทศไทยเป็นจำนวนน้อย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าอินทผลัมควบคู่ไปด้วย ซึ่งอินทผลัมส่วนใหญ่ที่นำเข้ามักอยู่ในรูปทั้งผลไม้สดและแปรรูปแล้ว


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอินทผลัม

อินทผลัมเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลปาล์ม มีความสุงประมาณ 30 เมตร ลำต้นมีขนาดประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ
ต้นอินทผลัมจะเริ่มให้ผลครั้งแรกเมื่ออายุ 5–7 ปี และมีอายุยืนยาวถึงกว่า 100 ปี โดยจะให้ผลผลิตต่อปีเฉลี่ยประมาณ 7,000–8,000 ลูกต่อปี หรือ ประมาณ 100–150 กิโลกรัม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น อินทผลัมสามารถทานได้ทั้งผลดิบและสุก โดยผลจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด ผลสุกจัดมักนิยมนำไปตากแห้ง ทำให้สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลาหลายปี และมักมีคนเข้าใจผิดว่ารสหวานจัดของอินทผลัมเกิดนั้นการแปรรูปด้วยการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล.
อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีหลากหลายพันธุ์เช่นเดียวกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ โดยแต่ละสายพันธุ์ก็มีเกรด ราคา รวมทั้งรสชาติแตกต่างกันด้วย ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูกกันนั้นได้แก่
- พันธุ์ Barhee หรือ Barhi (บาร์ฮี หรือ "บัรฮี) เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการทานผลสดโดยเฉพาะ มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรัก ปัจจุบันมีการปลูกกันแพร่หลายในหลายประเทศ กล่าวกันว่า พันธุ์ Barhi เป็น "แอบเปิลแห่งตะวันออกกลาง"
- พันธุ์ Deglet Nour (เดกเล็ท นัวร์) เป็นพันธุ์ทานผลแห้ง มีแหล่งกำเนิดจากประเทศแอลจีเรียและประเทศตูนีเซีย ในวงการอินทผลัมถือว่าเป็น "ราชินีแห่งอินทผลัม" เป็นพันธุ์ที่นิยมส่งออกไปขายต่างประเทศทั่วโลกมากที่สุด รสชาติไม่หวานมาก หวานปนมัน ไม่แข็งกระด้าง เหนียวไม่มาก เนื้อนุุ่ม
- พันธุ์ Medjool หรือ Medjhol หรือ Medjull (เมดจูล) บางครั้งเรียกว่า Ambatt (อัมบาต) หรือที่เรียกกันว่า "พันธุ์ ๗ เม็ดศอก" เพราะเป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนี้ เป็นพันธุ์ทานผลแห้ง มีแหล่งกำเนิดในประเทศโมรอคโค ในวงการอินทผลัมถือว่าเป็น "ราชาแห่งอินทผลัม" เป็นพันธุ์ดีที่นิยมส่งขายไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน เนื้อนุ่ม เนื้อทราย รสชาติหวานฉ่ำ และหวานมาก ๆ
- พันธุ์ Ajwa หรือ Ajwah (อัจวะ หรือ อัจวะห์ หรือออกเสียงเร็ว ๆ ว่า "อัจ - จะ - วะห์) เป็นพันธุ์ทานผลแห้ง มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นพันธุ์ที่ปรากฏในคัมภีร์ของอัลกุรอานของศาสนาอิสลาม เนื้อเหนียว หนึบ เมื่อแก่ใหม่ ๆ รสชาติจะนุ่ม ไม่หวานเหมือนความหวานของอินทผลัมพันธุ์อื่น หวานหอมลงคอ
- พันธุ์ Mabroom (อ่านว่า มับรูป หรืออ่านออกเสียงเร็ว ๆ ว่า มับ - บะ - รูม) แหล่งกำเนิดที่มีชื่อเสียงมาจากเมืองมาดินะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
- พันธุ์ Zahidi - Zehdi - Zahdi (อ่านว่า ซาฮิดิ) มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรักและอิหร่าน
อินทผลัม กับต้นกำเนิดจากแดนไกล
อินทผลัม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Date Palm และมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Phoenix dactylifera เป็นพืชในตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง มีหลากหลายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย โดยผู้ผลิตอินทผลัมรายใหญ่ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย แอลจีเรีย และประเทศในแถบอาหรับ

อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีปลูกในประเทศไทยเป็นจำนวนน้อย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าอินทผลัมควบคู่ไปด้วย ซึ่งอินทผลัมส่วนใหญ่ที่นำเข้ามักอยู่ในรูปทั้งผลไม้สดและแปรรูปแล้ว

อินทผาลัม สรรพคุณ ผลไม้มหัศจรรย์จากแดนอาหรับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอินทผลัม
อินทผลัมเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลปาล์ม มีความสุงประมาณ 30 เมตร ลำต้นมีขนาดประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ
ต้นอินทผลัมจะเริ่มให้ผลครั้งแรกเมื่ออายุ 5–7 ปี และมีอายุยืนยาวถึงกว่า 100 ปี โดยจะให้ผลผลิตต่อปีเฉลี่ยประมาณ 7,000–8,000 ลูกต่อปี หรือ ประมาณ 100–150 กิโลกรัม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น อินทผลัมสามารถทานได้ทั้งผลดิบและสุก โดยผลจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด ผลสุกจัดมักนิยมนำไปตากแห้ง ทำให้สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลาหลายปี และมักมีคนเข้าใจผิดว่ารสหวานจัดของอินทผลัมเกิดนั้นการแปรรูปด้วยการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล
  

อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีหลากหลายพันธุ์เช่นเดียวกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ โดยแต่ละสายพันธุ์ก็มีเกรด ราคา รวมทั้งรสชาติแตกต่างกันด้วย ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูกกันนั้นได้แก่
- พันธุ์ Barhee หรือ Barhi (บาร์ฮี หรือ "บัรฮี) เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการทานผลสดโดยเฉพาะ มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรัก ปัจจุบันมีการปลูกกันแพร่หลายในหลายประเทศ กล่าวกันว่า พันธุ์ Barhi เป็น "แอบเปิลแห่งตะวันออกกลาง"

- พันธุ์ Deglet Nour (เดกเล็ท นัวร์) เป็นพันธุ์ทานผลแห้ง มีแหล่งกำเนิดจากประเทศแอลจีเรียและประเทศตูนีเซีย ในวงการอินทผลัมถือว่าเป็น "ราชินีแห่งอินทผลัม" เป็นพันธุ์ที่นิยมส่งออกไปขายต่างประเทศทั่วโลกมากที่สุด รสชาติไม่หวานมาก หวานปนมัน ไม่แข็งกระด้าง เหนียวไม่มาก เนื้อนุุ่ม

- พันธุ์ Medjool หรือ Medjhol หรือ Medjull (เมดจูล) บางครั้งเรียกว่า Ambatt (อัมบาต) หรือที่เรียกกันว่า "พันธุ์ ๗ เม็ดศอก" เพราะเป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนี้ เป็นพันธุ์ทานผลแห้ง มีแหล่งกำเนิดในประเทศโมรอคโค ในวงการอินทผลัมถือว่าเป็น "ราชาแห่งอินทผลัม" เป็นพันธุ์ดีที่นิยมส่งขายไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน เนื้อนุ่ม เนื้อทราย รสชาติหวานฉ่ำ และหวานมาก ๆ

- พันธุ์ Ajwa หรือ Ajwah (อัจวะ หรือ อัจวะห์ หรือออกเสียงเร็ว ๆ ว่า "อัจ - จะ - วะห์) เป็นพันธุ์ทานผลแห้ง มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นพันธุ์ที่ปรากฏในคัมภีร์ของอัลกุรอานของศาสนาอิสลาม เนื้อเหนียว หนึบ เมื่อแก่ใหม่ ๆ รสชาติจะนุ่ม ไม่หวานเหมือนความหวานของอินทผลัมพันธุ์อื่น หวานหอมลงคอ

- พันธุ์ Mabroom (อ่านว่า มับรูป หรืออ่านออกเสียงเร็ว ๆ ว่า มับ - บะ - รูม) แหล่งกำเนิดที่มีชื่อเสียงมาจากเมืองมาดินะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
- พันธุ์ Zahidi - Zehdi - Zahdi (อ่านว่า ซาฮิดิ) มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรักและอิหร่าน


อินทผลัม สรรพคุณอันน่าอัศจรรย์ กับคุณค่าทางโภชนาการ

อินทผลัมเป็นผลไม้ที่ไม่มีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ นอกจากนี้เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามิน A, วิตามิน B1, วิตามิน B2, วิตามิน B6, วิตามิน K, แคลเซียม, ซัลเฟอร์, เหล็ก, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส, แมงกานิส, แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไทล์ แถมยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งช่วยในการลดอาการท้องผูก

อินทผลัมอุดมไปด้วย เบต้าแคโรทีน ลูติน และซีแซนทิน ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งในช่องท้อง ช่วยบำรุงร่างกาย แก้โรควิงเวียนศีรษะ แก้กระหาย ช่วยลดเสมหะภายในลำคอ หากรับประทานอินทผลัมยามเช้าขณะท้องว่าง อินทผลัมจะทำการฆ่าเชื้อโรค พยาธิ และสารพิษที่ตกค้างที่อยู่ในลำไส้ และระบบทางเดินอาหาร เพราะอินทผลัมมีฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และจากรายงานการวิจัยในประเทศซาอุดีอาระเบีย พบว่าอินทผลัมสามารถช่วยทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง และช่วยป้องกันเยื่อบุในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้อินทผลัมสดนั้นยังมาคั้นเป็นน้ำเพื่อดื่มโดยก็มีประโยชน์ไม่แพ้ผลอินทผลัมแห้งเลยแม้แต่น้อย

อินทผลัมยังมีประโยชน์อีกมากมาย ได้แก่
- บำรุงร่างกาย เพิ่มกำลัง ขจัดความความเมื่อยล้า
- ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักน้อยเกินไป
- บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน
- บำรุงสายตา
- ช่วยดูแลและควบคุมระบบประสาท
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ
- ช่วยกระตุ้นระบบการย่อยและช่วยดูดซึมสารอาหาร
- ตามความเชื่อในคัมภีร์อัลกุรอานช่วยรักษาและบำบัดพิษต่าง ๆ ด้วยการรับประทานวันละ 7 เม็ด
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพราะในอินทผลัมมีสารฟีลกูลีน ซึ่งช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้

อินทผลัม กับ เบาหวาน รักษาได้จริงหรือ

นายแพทย์ Juma M Alkaabi ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ได้ทำการวิจัยกับผู้ป่วยเบาหวานโดยให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานผลอินทผลัมและพบว่า การทานผลอินทผลัมนั้นไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแต่อย่างใด สาเหตุเพราะน้ำตาลที่อยู่ในอินทผลัมนั้นเป็นน้ำตาลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ขณะที่ อ.สุทธิวัสส์ คำภา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องธรรมชาติบําบัด เสริมข้อมูลด้วยว่า การกินอินทผลัมนั้นยังช่วยบำรุงตับอ่อนอีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงสามารถรับประทานอินทผลัมได้
อย่างไรก็ตาม ก็ควรทานอินทผลัมในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป



อินทผลัมกับชาวมุสลิม

ชาวมุสลิมถือว่าอินทผลัมนั้นเป็นผลไม้ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้ เนื่องจากในคัมภีร์อัลกุรอานได้มาการบันทึกเกี่ยวกับอินทผลัมอยู่หลายครั้ง ซึ่งชาวมุสลิมยังนิยมรับประทานอินทผลัมในช่วงเดือนถือศีลอด หรือ เดือนรอมฎอน อีกด้วย เนื่องจากในคัมภีร์อัลกุรอานได้บัญญัติไว้ว่าสามารถละศีลอดด้วยการกินอินทผลัมแทนการดื่มน้ำได้ และช่วนลดอาการอ่อนเพลียในช่วงอดอาหาร นอกจากนี้ ชาวมุสลิมยังเชื่อว่าการอินทผลัมจะช่วยป้องกันไสยศาสตร์ได้อีกด้วยค่ะ

ข้อควรระวังในการทานอินทผลัม

หากใครมีปัญหาสุขภาพหรือมีความบกพร่องในการขจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกายควรระวังในการทาน เพราะอินทผลัมมีโพแทสเซียมสูง อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เบาหวาน และภาวะหัวใจล้มเหลว

ถึงแม้อินทผลัมจะมีประโยชน์มากมาย เราก็ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ คือประมาณ 5-10 ผลต่อวัน เพราะผลไม้ทุกชนิดจะให้ประโยชน์ต่อเมื่อเรากินในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ หากเราทานให้ถูกต้องรับรองว่าการมีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องไกลเกินจริงแน่นอนค่ะ

Cr:
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, medthai.com, food.ndtv.com, organicfacts.net, ncbi.nlm.nih.gov, nutritionj.com



Cr:
https://health.kapook.com/view94071.html

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

12 สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ยอมรับทั่วโลก

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 12 ชนิด ที่ยอมรับทั่วโลก

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ของไทยคือของดีที่ชาวโลกยอมรับ แต่คนไทยเองกลับกล้าๆ กลัวๆ ว่าจะสามารถรักษาได้จริงหรือไม่ บอกไว้ก่อนเลยว่านี่เป็นสูตรที่อยู่ในตำราอาหารฉบับเก่าแก่ ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งสูตรการทำนั้นไม่ยากมาก แต่ก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีได้ วันนี้เราไปดูสูตรทำสมุนไพร เพื่อให้
รักษาโรคต่างๆ ในร่างกายกัน

1.บัวบก



ให้ใช้ต้นใบบัวบกสดๆ เพราะสามารถช่วยในการลดความดันโลหิตได้ และยังช่วยในการบำรุงหัวใจ เพิ่มความแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้หายจากอาการเมื่อยล้าได้ดี โดยเพียงใช้ต้นสดขนาด 40 กรัม ผสมกับ น้ำ 1 แก้วมาตรฐาน คั้นและกรอง ดื่มแต่น้ำ ภายใน 1 สัปดาห์จะรู้สึกเลยว่าอาการดีขึ้น ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้

2.กระเทียม



สำหรับการลดความเสี่ยงความดันโลหิตนั้น ควรเลือกใช้กระเทียมสด โดยสูตรนี้ทำได้ง่ายมาก แต่มีข้อระวังคือ ห้ามกินตอนที่กระเพาะไม่มีอาหาร เพราะอาจเกิดอาการระคางเคืองกระเพาะอาหารได้ โดยใช้กระเทียมสด 2 กลีบ สับให้ละเอียดแล้วนำมาทานผสมกับข้าวสวยทุกมื้อ


3.มะระขี้นก



สรรพคุณของมะระขี้นกคือ ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด โดยให้ใช้มะระขี้นก 10 ลูก ผ่าเอาเมล็ดออก สับให้ละเอียด จากนั้นใส่น้ำไปเล็กน้อย แล้วกรอง นำมาดื่มเป็นประจำทุกวัน 3 เวลาหลังอาหาร ให้ดื่มติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน จะเห็นได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าใครที่ดื่มแล้วขมเกินไป ให้นำมะระขี้นกมาลวก แล้วกินกับน้ำพริกแทนก็ได้

4.ตำลึง



ตำลึงเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดได้ โดยให้นำยอดตำสึงสดๆ พอประมาณ นำมาลวก แล้วนำมาทานเป็นอาหารทุกวันเป็นประจำ จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

5.กระเจี๊ยบแดง



กระเจี๊ยบแดง เป็นผักที่สามารถสลายไขมันในเส้นเลือดได้ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยในการบำรุงกำลังวังชา ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย โดยให้นำดอกกระเจี๊ยบไปตากแห้ง และนำไปบดให้ละเอียด น้ำมาชงกับน้ำครั้งละ 1 ช้อนชา ดื่มทุกวัน วันละ 3 เวลา จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้


6.เสาวรส



เสาวรสเป็นผลไม้ที่สามารถช่วยในเรื่องของการลดไขมันในเส้นเลือดได้ ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูมีชีวิตชีวา ช่วยในการสร้างภูมิคุ้นกันให้กับร่างกาย และช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ทำได้โดยเลือกผลที่แก่จัด นำไปล้างให้สะอาดแล้วนำมาผ่า ตักเนื้อออก คั้นให้มีแต่น้ำ นำมาดื่มสดๆ หรือจะเติมเครื่องปรุงเล็กน้อยก็ได้

7.เตยหอม



เตยหอมเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในการป้องกันโรคเบาหวาน สามารถบำรุงหัวใจ ช่วยขับปัสสาวะ และแก้อาการกระหายน้ำได้ โดยนำใบเตยแก่ มาหั่นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง นำมาชง หรือดื่มก็ได้ ดื่มแทนน้ำเลยยิ่งดี ให้ติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน จะช่วยป้องกันโรคเบาหวาน หรือคนที่กำลังเป็น อาการก็จะบรรเทาลง

8.กะเพรา



กะเพราก็เป็นพืชผักอีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้ดี เพราะจะช่วยให้ตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้มากขึ้น โดยนำไปกะเพรา จะสดๆ หรือนำไปตากแห้งก็ได้ นำมาบดให้ละเอียด จากนั้นชงดื่มเหมือนกับเตยหอม ก็จะช่วยบรรเทาโรคได้


9.ขมิ้นชัน



ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่ช่วยในการต่อต้านอาการสมองเสื่อม และยังสามารถ้านมะเร็ง ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยนำเหง้าแก่ มาขูดเปลือกออก ล้างน้ำให้เกลี้ยง จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม วันละ 3 ครั้ง หรือจะเลือกแบบแคปซูลก็ได้ ให้ประโยชน์เหมือนกัน

10.พริกไทย



ใช้ผงป่นมาปรุงอาหารที่กินเป็นประจำ หรือกินเป็นแคปซูลวันละ 1,000 มิลลิกรัม พร้อมกับอาหารทุกมื้อ ไม่ควรกินขณะท้องว่าง เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร นักวิจัยพบว่า สารพิเพอรีนในพริกไทยมีสรรพคุณต้านสมองเสื่อม ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และต้านมะเร็งได้บำรุงธาตุ


11.มะพร้าว



มะพร้าวเป็นผลไม้ที่ช่วยในการบำรุงร่างกาย ช่วยแก้อาการสมองเสื่อม แก้พิษ แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ขับสลายนิ่วได้ด้วย โดยสามารถดื่มได้เลยถ้าขาดน้ำ การดื่มมะพร้าวควรเลือกดื่มแบบที่ผลอ่อนๆ เพราะเราจะได้ทานเนื้อด้วย

12.มะตูม





มะตูมมีส่วนช่วยในการบำรุงแร่ธาตุในร่างกาย แก้โรคสมองเสื่อม ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการท้องเสีย โดยนำมาฝานเป็นแผ่นๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง นำมาคั่วให้หอม แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

“พลูคาว”



“พลูคาว” สุดยอดสมุนไพรที่กลุ่มผู้รักษาสุขภาพด้วยวิถีทางธรรมชาตินั้นรู้จักกันดี โดยมีการนำพลูคาวมาใช้ในหลายประเทศเนื่องจากสรรพคุณทางยาของพลูคาวมีหลากหลาย มีการนำมาแปรรูปให้รับประทานง่ายขึ้น มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง จึงเป็นที่มาของการนำพลูคาวมาวิจัยพัฒนาจนกลายเป็นยาชั้นยอดจนได้ชื่อว่า "สุดยอดสมุนไพรต้านมะเร็ง"


ที่มาของพลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ผักคาวตอง เป็นสมุนไพรที่เป็นที่รู้จักกันดีในภาคเหนือ มีชื่อเรียกต่างๆกันไปตามแต่ละละท้องถิ่น เช่น คาวตอง (ลำปาง, อุดรธานี) คาวทอง (อุตรดิตถ์, มุกดาหาร) ผักคาวตอง ผักเข้าตอง ผักคาวปลา (ภาคเหนือ) พลูคาว (ภาคกลาง) สามารถพบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย เช่น เวียดนาม ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทย โดยมักพบตามพื้นที่ชื้นแฉะริมลำธาร บางพื้นที่อาจจะปลูกไว้ตามบ้านเพื่อนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร


พลูคาวถูกนำมาใช้เป็นยาในหลายๆ ประเทศ เช่น ไทย อินเดีย เนปาล เกาหลี จีนและญี่ปุ่น เนื่องจากมีสรรพคุณทางยามากมายซึ่งช่วยรักษาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งมีการนำมาใช้ในผู้ที่สุขภาพปกติเพื่อบำรุงร่างกายอีกด้วย


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพลูคาว
ลำต้น มีลักษณะกลม อวบน้ำ ผิวเปลือกสีเขียว ลำต้นเอียง บางส่วนเลื้อยไปตามพื้นดิน ตามข้อมีรากแขนงงอกออกมา ต้นมีกลิ่นคล้ายกลิ่นคาวปลา

ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวโดยแตกใบสลับๆ กันที่ข้อของลำต้น มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ มีหูใบทั้งสองข้างโคนใบเว้าเข้า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียว ท้องใบมีสีม่วง บริเวณก้านใบเป็นกาบหุ้มรอบลำต้น

ที่มาบทความ: